"โรคฝีดาษลิง" โรคติดต่อที่คนไทยไม่ควรมองข้าม

27 Aug, 2022

    

    สถานการณ์โควิดเพิ่งเบาลงไม่เท่าไร โรงระบาดใหม่ก็เริ่มคืบคลานเข้ามาแล้ว หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘ฝีดาษลิง’ ไม่มากก็น้อย แต่คงยังไม่เคยศึกษาจริงจังว่ามันคืออะไร มีอาการแบบไหน วิธีป้องกันหรือวิธีรักษาเป็นอย่างไร วันนี้ทาง Dii จะมาสรุปสั้น ๆ ให้ฟังเป็นเกร็ดความรู้กันค่ะ

        โรคฝีดาษลิง (Monnkeypox Virus) มาจากประเทศคองโก เคยระบาดเมื่อ 60 ปีก่อน โดยพบจากการติดเชื้อของสัตว์ในตระกูลลิงจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ

        ภายหลังมีการติดจากสัตว์สู่คน โดยสามารถติดต่อได้จากสัตว์กัดแทะทุกชนิด โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง น้ำหนอง ตุ่มหนองของสัตว์ ผื่นสัตว์ การถูกสัตว์ติดเชื้อกัดหรือข่วน การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ติดเชื้อและปรุงไม่สุก

หากติดแล้วจะมีอาการอย่างไร?

        โรคฝีดาษลิงมีระยะฟักตัวประมาณ 5-20 วัน หากสัมผัสเชื้อมากจะแสดงอาการเร็ว โดยอาการชัดเจนที่สามารถสังเกตได้คือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อตามตัว ปวดหลัง ปวดกระบอกตา เจ็บคอ อ่อนเพลีย หลังจากนั้นประมาณ 5 วัน จะมีตุ่มน้ำใสขนาดใหญ่ขึ้นตามตัว มีสะเก็ดคลุม สามารถแตกได้ แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 การรักษา

        หลังติดเชื้อแล้วสามารถกลับมาหายเองได้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ และมียาต้านไวรัสเฉพาะ หากเริ่มระบาด ควรสวมหน้ากากอนามัยในที่แออัด หมั่นล้างมือ เลี่ยงกันสัมผัสตา จมูก ปาก และไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ระวังสัตว์กัดแทะทุกชนิด

        นี่คือข้อมูลแบบคร่าว ๆ ของการป้องกันและเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิง องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรค “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว ประกอบกับมีรายงานว่าพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกในไทย จึงทำให้ต้องระวังตัวกันมากขึ้น เพราะหากติดแล้ว อาจทิ้งรอยแผลไว้ตามร่างกาย เป็นผลเสียที่โรคฝีดาษลิงทิ้งเอาไว้

      ดูแลสุขภาพ หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดบ่อย ๆ นะคะ

  • line-share
  • copy-url

Relate News

icon Line Top